top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนCH-FMMS LPRU

ของกิ๋นบ่าเก่า บ่าวสาวก็ยังมัก

โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม (กิจการนักศึกษา) กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์คณะวิทยาการจัดการ “การอภิปรายและสัมมนา หัวข้อ “ของกิ๋นบ่าเก่า บ่าวสาวก็ยังมัก”” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต การกิน การอยู่ของคนในท้องถิ่น และสืบสานไม่ให้สูญหายไป รวมทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีอัตลักษณ์ด้วยคุณลักษณะบัณฑิตจิตอาสา คุณลักษณะคนไทย ๔ ประการ และการมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑



กระบอง

คนรักของทอดต้องร้องถูกใจสิ่งนี้ กระบองคืออาหารว่างที่คนภาคอื่นอาจไม่คุ้น มันคือผักชุบแป้งทอด กรอบนอก นุ่มใน เผ็ดเล็กน้อยจากพริกแกงที่ผสมในแป้ง ปกติมักใช้ฟักทอง แต่อาจจะใช้ผักอย่างอื่นเช่น มะละกอ หัวผลี หรือหัวหอมก็ได้



ข้าวหลาม

ของหวานชนิดนี้หาทานได้ทั้งทางภาคเหนือและอีสาน มักวางขายในราคาไม่แพง (ปกติ เริ่มต้นที่กระบอกละประมาณ 20 บาท) ทำจากข้าวเหนียวผสมถั่วดำ คลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายและกะทิ กรอกลงกระบอกไม้ไผ่ นำไปเผาบนถ่าน ถ้าหรูหราขึ้นมาหน่อย อาจจะใส่เผือกหรือมะพร้าวอ่อนลงไปด้วย อร่อยที่สุดตอนร้อนอุ่น ๆ




ข้าวซอยไก่

อาจกล่าวได้ว่าเป็นอาหารเหนือที่ขึ้นชื่อที่สุด เส้นข้าวซอยราดแกงกะทิ ใส่น่องไก่ โรยด้วยหมี่กรอบ ทานคู่กับหอมแดงซอย พริกป่นผัดน้ำมัน หรือจะบีบมะนาวเพิ่มความสดชื่นด้วยก็ได้ เป็นอาหารที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ และยังมีแบบอิสลามที่ใช้เนื้อวัวหรือแกะแทนน่องไก่อีกด้วย




ไส้อั่ว

ไส้กรอกรสเผ็ดจากภาคเหนือของไทย คำว่า “อั่ว” ในภาษาเหนือแปลว่ากรอกหรือยัดไส้ ไส้อั่วจึงเป็นการนำหมูบดมาผสมกับกระเทียม สมุนไพร พริก และเครื่องแกง ก่อนนำไปกรอกใส่ไส้นั่นเอง ทานเป็นกับแกล้ม หรือจะทานคู่กับข้าวเหนียวเป็นจานหลักก็ได้



ขนมจีนน้ำเงี้ยว

น้ำเงี้ยวได้รสเปรี้ยวหวานจากมะเขือเทศ ผัดรวมกับเลือดหมู เนื้อหมู ถั่วเน่าและพริก กลายเป็นน้ำแกงสีแดงนำไปราดเส้นขนมจีน เพิ่มรสชาติด้วยการโรยกระเทียมเจียว ผักกาดดอง มะนาว และแคบหมู แค่ฟังก็น้ำลายสอ



แกงฮังเล

เมนูนี้มักทำเลี้ยงระหว่างเทศกาลงานฉลองต่าง ๆ เช่น งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ ตำนานกล่าวว่าแกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากพม่า เพื่อนบ้านของไทยและอินเดีย ซึ่งก็พอจะช่วยให้เข้าใจได้ว่า ทำไมผงแกงฮังเลถึงมีส่วนผสมใกล้เคียงกับผงมาซาลา (masala) หลังจากคลุกเคล้าเนื้อหมูและเครื่องเทศให้เข้ากันดีแล้ว ให้นำไปเคี่ยวอย่างน้อย 40 นาที ตัวแกงจะเริ่มส่งกลิ่นหอมของเครื่องเทศและสมุนไพร ทั้งมะขาม ขิง และกระเทียมดอง แม้ไม่มีกะทิแต่ก็เข้มมันจนบางสูตรใส่สับปะรดลงไปด้วยเพื่อตัดเลี่ยน




ลาบดิบ

เรียกได้ว่าเป็น Carpaccio หรือ Tartare เนื้อแบบไทย นิยมทานทั้งในภาคเหนือและอีสาน ส่วนผสม-ของลาบดิบคล้ายคลึงกับลาบ มีทั้งพริกลาบ สะระแหน่ และน้ำปลา สิ่งที่ต่างคือเนื้อที่ใช้จะเป็นเนื้อดิบที่บดหรือสับ แถมยังมีเครื่องในและเลือดด้วย จานนี้ควรรับประทานตามร้านอาหารที่ถูกสุขลักษณะอนามัยเท่านั้น ถ้าเนื้อดิบไม่ใช่ปัญหา ลองมาเปลี่ยนบรรยากาศดูกัน



หมูยอ

ไส้กรอกหมูสีอ่อนชนิดนี้ถือเป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้ของอาหารเหนือหลายเมนู รสเค็มเล็กน้อยเหมาะสำหรับนำไปทอดทานเป็นของว่าง หรือจะนำไปผสมกับยำก็ได้




แกงโฮะ

“โฮะ” ในภาษาเหนือแปลว่ารวม ดังนั้น จานนี้คือการนำอาหารเหลือหลาย ๆ อย่างมารวมกัน น้ำแกงที่เหลือ (ปกติมักเป็นแกงฮังเล) นำมาผัดกับวุ้นเส้น ใบมะกรูด หน่อไม้ดอง ตะไคร้ และเนื้อหมู ดูแห้ง ๆ แต่รสแรง ในปัจจุบัน แกงโฮะอาจจะไม่ได้ทำจากของเหลืออีกต่อไป แต่ใช้ของสดใหม่เพื่อคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่สูญหาย



น้ำพริกหนุ่มกับแคบหมู

ของฝากชื่อดังจากเมืองเหนือ ของว่างคู่นี้อร่อยจนคุณกินแทนมื้อหลักได้ 3 มื้อ ตัวน้ำพริกทำจากพริกหนุ่ม กระเทียม หอมแดง และผักชี ให้รสเผ็ดเล็กน้อย เข้ากันได้ดีกับความเค็มจากแคบหมู ลองเปลี่ยนจากแคบหมูมาเป็นผักสดหรือผักต้มแทนบ้างก็ได้เพื่อให้ได้สารอาหารครบหมู่




ส่วนผสม น้ำพริกหนุ่ม


  1. พริกหนุ่ม

  2. หอมแดง

  3. กระเทียม

  4. เกลือ (เราใส่ผงปรุงรสลงไปด้วย)

  5. ผงชูรส (ใครไม่ชอบไม่ต้องใส่)


อุปกรณ์


  1. กระทะ

  2. ครก

  3. สาก


วิธีทำน้ำพริกหนุ่ม


  • นำพริกหนุ่ม หอมแดง และกระเทียม ไปคั่วในกระทะจนเกรียม



  • ลอกส่วนที่เกรียมของพริกหนุ่ม หอมแดง และกระเทียม ออก

  • ใส่หอมแดง กระเทียม พริกหนุ่ม และเกลือ ลงในครก ตำให้ละเอียดตามความชอบ ปรุงรสตามชอบ

  • จัดใส่จาน พร้อมรับประทาน




Comentarios


bottom of page