top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนCH-FMMS LPRU

ฟ้อน รำ จ๊อยซอ สะล้อ ซึง เข้าถึงวัยรุ่นอย่างไร

โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม (กิจการนักศึกษา) กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์คณะวิทยาการจัดการ “การอภิปรายและสัมมนา หัวข้อ “ฟ้อน รำ จ๊อยซอ สะล้อ ซึง เข้าถึงใจวัยรุ่นอย่างไร”” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นดนตรีพื้นเมือง รวมทั้งการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งช่วยให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่า และการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากเหง้าของตนเอง


การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง





1.ฟ้อนเทียน

ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่ แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง

การแต่งกาย ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น และความจำกัดของสถานที่ โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์ คือ ถือเทียน ๑ เล่ม การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้ ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย มีอุบะห้อยศีรษะ


โอกาสที่แสดง ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา






2.ฟ้องเงี้ยว

ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่ ประกอบด้วย ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่ การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน

การแต่งกาย จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า หรือกางเกงขากว้างๆ หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู

โอกาสที่ใช้แสดง แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป




3.ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บ เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เพราะการฟ้อนเล็บจะแสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ การแต่งกายของผู้เล่นฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนนุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ ผมเกล้าแบบผมมวยสูง ติดดอกไม้ ห้อยอุบะ ปล่อยชายลงข้างแก้ม สวมเล็บยาวตรงนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

4.กลองสะบัดชัย

กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทาให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้คนที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

บทบาทของกลองสะบัดชัย

อาจกล่าวได้ว่า การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ได้นาชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ล้านนา และบทบาทของกลองสะบัดชัยจึงอยู่ในฐานะการแสดงในงานวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง และขบวนแห่ ฯลฯ

แต่ในโอกาสในการใช้กลองสะบัดชัยแต่เดิมจนถึงปัจจุบันยังมีอีกหลายประการ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในวรรณคดีต่าง ๆ มากมาย สรุปได้ดังนี้

1. ใช้ตีบอกสัญญาณ

2. เป็นมหรสพ

3.เป็นเครืองประโคมฉลองชัยชนะ

4. เป็นเครืองประโคมเพือความสนุกสนาน

ประเภทของกลองสะบัดชัย

กล่าวโดยสรุปกลองสะบัดชัยในปัจจุบันนี้มี 3 ประเภทคือ

1. กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบที่มักเรียกว่า “กลองปูชา” แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่าง ๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทานองที่เรียกว่า “ระบ่า” ทั้งช้าและเร็ว บางระบามีฉาบและฆ้อง บางระบามีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว

2. กลองสองหน้า มีลูกตุบและคานหามซึ่งเป็นกลองที่จาลองแบบมาจากประเภทแรก เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งถือไม้ตีกลอง การตีลักษณะนี้อาจมีฉาบและฆ้องประกอบหรือไม่มีก็ได้ ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว ผู้ที่ตีได้และยังมีชีวิตอยู่ (2548) เท่าที่ทราบคือ ครูมานพ (พัน) ยารณะ ซึ่งเป็นศรัทธาวัดสันป่าข่อย อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

3. กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ มีฉาบ ฆ้อง ประกอบจังหวะ และมักมีนาคไม้แกะสลักประดับซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายปัจจุบัน

กลองสะบัดชัยทั้ง 3 ประเภท ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูให้หวนกลับมาสู่ความนิยมอีก โดยประเภทแรกนอกจากจะมีการสอนให้ตีและมีบทบาทในวัด ก็ได้มีการนาเข้าสู่ขบวนซึ่งอาจมีการเคลื่อนย้ายโดยยกขึ้นค้างแล้วติดล้อเลื่อน ประเภทที่สองมีการเผยแพร่และกาลังเป็นที่นิยม สาหรับประเภทสุดท้ายก็ปรากฏแพร่หลายจนเกือบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลองล้านนา

Comments


bottom of page